วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555

"การทำธุรกิจและการตลาดในยุคดิจิทัล 3.0"#3


สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการรับฟัง

การทำการตลาดในยุคปัจจุบัน จะเน้นการใช้งาน Social Media Social Network มาเกี่ยวข้องในการทำการตลาดออนไลน์ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคได้รับข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็ว และทันสมัยยิ่งขึ้น
ประเภทของ Media มี 4 ประเภท
1. Owned Media ประกอบการเป็นผู้สร้างขึ้น เป็นเจ้าของ เช่น web blog เป็นสื่อของเราเอง
2. Faid Media เป็นสื่อที่ต้องมีค่าใช้จ่าย เช่น Banner
3. Earned Media ลูกค้า ผู้บริโภค เป็นเจ้าของ อาจจะเป็น Facebook ที่ได้สร้างขึ้นเอง โดยการแบ่งปันข้อมูล สร้างคอมเม้น
4. Social Media สังคมออนไลน์

ความเปลี่ยนแปลงของผู้ปริโภค
1. Globalization โลกาภิวัตน์
2. Control of media วิธีในการควบคุมการเข้าใช้งานสื่อกลาง
3. Conversations generate exposure เป็นความท่าทายของนักการตลาด ต้องมีการโต้ตอบการสนทนา
4. Transparency - open source ความจริงใจความโปร่งใส
5. Collaboration rules กฎการทำงานร่วมกัน
6. People use technologies แหล่งสุดท้ายที่ผุ้บริโภคจะเข้ามาหาข้อมูล ผู้บริโภคจะเชื่อคนที่ไม่รู้จัก

ขั้นตอนในการสร้างแบรน
1. ทำยังไงให้คนรู้จักเรา
2. การเข้ามามีส่วนร่วม
3. การทดลองใช้
4. ต้องทำให้ผู้บริโภคชอบ
5. การบอกต่อ

ยุคของการทำการตลาด
ในยุคแรก ของการตลาดเป็นการซื้อมาขายไป
ยุคที่ 2 ให้ความสำคัญกับ relationship
ยุคที่ 3 การเปิดช่องทางให้ผูบริโภค

2.หาคำศัพท์ที่ได้จากการรับฟังพร้อมหาความหมาย เพื่ออธิบายคำศัพท์ดังกล่าว อย่างน้อย 20 คำ แล้วสรุปใน Web Bblog
1. Digital Marketing คือ การทำการตลาดและการจัดจำหน่ายสินค้า หรือบริการผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือเครือข่ายโทรคมนาคม ทั้งสินค้าหรือบริการที่จัดจำหน่ายผ่านช่องทางนี้ สามารถจัดส่งได้โดยตรงผ่านเครือข่าย Digital ใช้การ Download หรืออาจใช้ระบบการจัดส่ง (Fulfillment) แบบดั้งเดิม

2. Social Media สังคมออนไลน์ที่จะช่วยให้คุณหาเพื่อนบนโลกอินเทอร์เน็ตได้ง่ายๆ เราสามารถที่จะสร้างพื้นที่ส่วนตัวขึ้นมา และได้ทำความรู้จักกับเพือนหรือคนอื่นๆ และยังสามารถแนะนำตัวเองได้เช่น Hi5,Friendster,MySpace,FaceBook,Orkut,Bebo,Tagged เป็นต้น
3. relationship marketing การตลาดแบบมีความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า (Customer Relationship Marketing) นั่นเอง การบริการมีส่วนสำคัญในการตลาดแบบมุ่งเน้นความสัมพันธ์ การสร้างมิตรจิตมิตรใจหรือไมตรีจิตผ่านการบริการนั้น จะเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์แบบใกล้ชิด (Intimate relationship) ซึ่งมีคุณลักษณะหรือมีองค์ประกอบ 3 ประการ หรือที่เรียกว่า 5C หรือ 5ส
4. services marketing
หมายถึง กิจกรรมหรือผลประโยชน์ที่บุคคลหนึ่งเสนอแก่อีกบุคคลหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะคือไม่
สามารถมองเห็นหรือจับต้องได้ และไม่มีผลในการเป็นเจ้าของ โดยอาจจะมีตัวสินค้าเข้ามาเกี่ยวข้อง
ด้วยหรือไม่ก็ได้
5. Banner ป้ายโฆษณาสินค้าหรือบริการต่างๆ ที่สามารถนำไปแสดงผ่านหน้าเว็บไซต์ โดยภายในจะมีเนื้อหา รูปภาพแสดงสินค้าหรือบริการอยู่ และ อาจจะเพิ่มสีสันด้วยการกระพริบ-เคลื่อนไหวของป้ายแบนเนอร์ เพื่อให้ผู้ใช้ internet ที่เข้ามาเห็น เกิดความสนใจที่จะคลิกเข้าไปดูเนื้อหานั้นๆ อาจจะเป็นความสนใจในเนื้อหาของ banner หรือ web site หรือ สินค้าที่ขาย หรือ สนใจในบริการที่มีให้อะไรก็แล้วแต่ แล้วก็กดที่ภาพ "Banner"นั้น เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหน้าเว็บที่ลิ้งค์ไปหา
6. customer knowledge management การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด

7. Software Park เขตอุตสาหกรรมซอฟแวร์ เปรียบเหมือนนิคมอุตสาหกรรม ถ้าต้องการจะสร้างโรงงาน การไปสร้างในนิคมอุตสาหกรรมก็จะง่ายกว่า เพราะมีพื้นที่ที่เขาเตรียมไว้แล้ว มีสาธารณูปโภคต่างๆให้เรียบร้อย เป็นตึกที่เตรียมสาธารณูปโภคต่างๆ ไว้เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก เช่น พื้นที่ออฟฟิส ห้องประชุม ห้องสัมมนา การให้คำปรึกษาต่างๆ ฯลฯ
8. Strategic Development การสร้างแบบจำลองสถานการณ์ของกลยุทธ์ในอนาคต โดยอาศัยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม และการวิเคราะห์ผลประกอบการขององค์กร
9. Buzz Marketing การทำการตลาดแบบ Viral Marketing หรือที่เรียกกันอีกอย่างว่า Word of Mouth (ปากต่อปาก)
10. Owned Media สื่อที่เราสร้างขึ้นเอง หมายถึง สื่อที่เจ้าของสร้างเอง และสามารถควบคุมการติตต่อสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างทั่วถึง เช่น การพัฒนาเว็บไซต์ บล็อก โซเซียลเน็ตเวิรก์ของตัวเอง หรือ การลงโฆษณาในสื่อต่างๆ (Paid Media) เพื่อใช้ช่องทางในการสื่อสารหลักกับลูกค้าเป้าหมาย
11. Earned Media สื่อที่คนอื่นสร้างให้ หมายถึง สื่อที่ลูกค้าภายนอกเป็นผู้สร้างขึ้นมา โดยพูดถึง สนับสนุนสินค้าและแบรนด์ ส่วนใหญ่เกิดจากการที่ลูกค้ามีส่วนร่วมและพัฒนาภายใต้ความรู้สึกนึกคิดและอัตตาของตนเอง ถือเป็นช่องทางที่ให้ลูกค้าได้สร้างสรรค์และแสดงทัศนคติต่อแบรนด์อย่างชัดเจน
12. Social Network คือ สังคมออนไลน์ที่จะช่วยให้คุณหาเพื่อนบนโลกอินเตอร์เนทได้ง่ายๆ เราสามารถที่จะสร้างพื้นที่ส่วนตัวขึ้นมา เพื่อแนะนำตัวเองได้ เช่น
• Hi5
• Friendster
• My Space
• Face Book
• Orkut
• Bebo
• Tagged
13. Cause Marketing การตลาดเพื่อการกุศล การเชื่อมธุรกิจของคุณเข้ากับองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร (NGO) หรือองค์กรการกุศลต่างๆ ซึ่ง เป็นกลยุทธ์ที่จะช่วยส่งเสริมธุรกิจ และมอบสิ่งดีๆกลับคืนสู่สังคมไปด้วยพร้อมๆกัน
14. CRM ย่อมาจาก Customer Relationship Management คือ การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า ซึ่งหมายถึงวิธีการที่เราจะบริหารให้ลูกค้ามีความรู้สึกผูกพันธ์กับสินค้า ,บริการ หรือองค์กรของเรา เมื่อลูกค้าเค้ามีความผูกพันธ์ในทางที่ดีกับเรา แล้วก็ลูกค้านั้นไม่คิดที่จะเปลี่ยนใจไปจากสินค้าหรือบริการของเรา ทำให้เรามีฐานลูกค้าที่มั่้นคง และนำมาซึ่งความมั่นคงของบริษัท ดังนั้น การที่จะรู้ซึ้งถึงสถานะความผูกพันธ์กับลูกค้าได้นั้น เราก็ต้องอาศัยการสังเกตุพฤติกรรมของลูกค้า แล้วนำมาวิเคราะห์หาความเกี่ยวข้องระหว่าง พฤติกรรมของลูกค้ากับกลยุทธ์ทางการตลาดของเรา กระบวนการทำงานของระบบ CRM มี 4 ขั้นตอนดังนี้
1.Identify เก็บข้อมูลว่าลูกค้าของบริษัทเป็นใคร เช่น ชื่อลูกค้า ข้อมูลสำหรับติดต่อกับลูกค้า
2.Differentiate วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าแต่ละคน และจัดแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่มตามคุณค่าที่ลูกค้ามีต่อบริษัท
3.Interact มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อเรียนรู้ความต้องการของลูกค้า และเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าในระยะยาว
4.Customize นำเสนอสินค้าหรือบริการที่มีความเหมาะสมเฉพาะตัวกับลูกค้าแต่ละคน
15. Marketplace หมายถึง ตลาดสินค้า หรือ อีกความหมายหนึ่ง คือ สถานที่พบปะชุมนุมกัน
16. Co-Creation กลยุทธ์ทางการตลาดที่เน้นการปฏิสัมพันธ์(Interaction) เน้นการติดต่อสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนความคิด ความต้องการความคิดเห็นระหว่างกัน ความร่วมมือนี้อาจเกิดระหว่างธุรกิจกับผู้ริโภคหรือธุรกิจกับธุรกิจ
17. service marketing การตลาดบริการ การสนองตอบความต้องการของลูกค้า มักจะคำนึงถึงการบริการควบคู่ไปกับการขาย สินค้าบริการเป็นการกระทำที่เป็นขั้นตอนและแสดงเป็นผลงานออกมาจากผู้ให้บริการส่งให้กับลูกค้า หรือสินค้าบริการเป็นการแลกเปลี่ยนกัน
18. product innovation เป็นประเภทของนวัตกรรมที่รู้จักกันมากที่สุด คือการพัฒนาสินค้าหรือบริการให้ดีขึ้น ใช้งานง่ายขึ้น มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
19. mindset กระบวนการทางความคิด การปรับทัศนคติ การปรับความชอบหรือนิสัยหรือการจัดลำดับความคิดของตัวเอง
20. Viral Marketing การตลาดแบบไวรัส เทคนิคการทำการตลาดที่ใช้สื่อ Social Networks ที่มีอยู่แล้ว เช่น facebook, hi5, และอีกมากมายนับไม่ถ้วน ในการทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักมากขึ้น หรือ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการตลาดด้านอื่นด้วย

"Online Business with Google"#4

สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการรับฟัง

การประยุกต์ระบบออนไลน์มาใช้กับภาคธุรกิจเพื่อเปิดช่องทางการติดต่อซื้อขายสินค้า ด้วยการนำ ZMOT มาใช้เป็นส่วนเสริมในกระบวนการซื้อขายสินค้า ให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเพื่อดูดความสนใจ ซึ่งผู้บริโภคส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการค้นหาข้อมูลสินค้าเอง ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะใช้ Google เป็นผู้ช่วยในการค้นหา ผู้ดำเนินธุรกิจต้องประยุกต์มาใช้ดิจิตอล 3.0 ที่สามารถค้นเจอบนหน้าของการค้นหาของ Google ได้ ซึ่งการค้นหาพบได้นั้นจะต้องมีปัจจัยประกอบดังนี้

Get your business online คือ การเข้ามามีตัวตนบนโลกออนไลน์ การสามารถค้นพบได้ด้วย Search Engine ซึ่งให้เราอยู่ในผลการค้นหาได้ โดยส่วนใหญ่จะใช้ Google ในการค้นหา ซึ่งการค้นพบเป็นลำดับแรกๆจะต้องอาศัยค่า Page rang คือข้อมูลและจากจำนวนการเข้าชม ซึ่งจะเป็นค่าสะสมไว้ในการค้นหา


Be found – when customer is searching คือ การสามารถค้นพบได้จากการค้นหาเป็นลำดับแรกๆ ซึ่งอาจเป็นการค้นหาเจอได้โดยทั่วไปซึ่งจะต้องทำให้ค่า Page rang สูง หรือการค้นหาเจอโดยการซื้อตำแหน่งคำค้นหา หรือการโฆษณาโดยตัวค้นหาหรือ Google Adwords ซึ่งผู้ซื้อจะมีค่าใช้จ่ายทุกครั้งลูกค้าคลิกเข้าไป


Be reached – show where you are คือ การสามารถค้นหาเจอได้จากแผนที่อาจผ่านทาง Google maps เพื่อระบุตำแหน่งของห้างร้านคุณ


Get closer to your customers คือ การใกล้ชิดกับลูกค้ามากขึ้น โดยการผ่านทาง Google plus ทำให้เสนอข้อมูลและคุยกับลูกค้าได้ ซึ่งปัจจุบัน Google สร้างพื้นการสนทนาแบบ Rail Conversations คือการคุยผ่าน วีดีโอConference นั่นก็คือ Google plus Hangouts เป็นการเปิดพื้นที่ในการสนทนาหลายคนพร้อมกันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือการนำเสนอสินค้าได้ ตลอดจนการเรียกเอกสารขึ้นมาดูหรือใบเสนอราคามาใช้ได้ อีกทั้งยังสามารถเผยแพร่ออกไปให้ผู้อื่นรับชมได้คล้ายถ่ายทอดให้รับชม


Increase your performance คือ การสร้างรายงาน โดย Google narcotic เพื่อวัดการเข้าดูแบบทันทีทันใดในขณะนั้น การตรวจสอบรายละเอียดของผู้เข้าชมเพื่อวัดประสิทธิภาพของเว็บไซต์


Engage your customer anywhere anytime คือ การค้นหาบนมือถือไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถเข้าถึงโฆษณาเราได้ ซึ่งต้องออกแบบให้เป็น Mobile site เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้


Go Global (AEC) คือ การเข้าถึงได้ทั่วโลก คือ Google มีความสามารถในการช่วยในด้านภาษาก็สามารถช่วยในการแปลภาษาให้เข้าใจระหว่างกันได้ ทำให้ภาษไม่เป็นอุปสรรคในการสื่อสารด้วย Google translate

2.หาคำศัพท์ที่ได้จากการรับฟังพร้อมหาความหมาย เพื่ออธิบายคำศัพท์จากการบรรยายเรื่อง "Online Business with Google"

1. Digital Marketing การทำการตลาดและการจัดจำหน่ายสินค้า หรือบริการผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือเครือข่ายโทรคมนาคม ทั้งสินค้าหรือบริการที่จัดจำหน่ายผ่านช่องทางนี้ สามารถจัดส่งได้โดยตรงผ่านเครือข่าย Digital ใช้การ Download หรืออาจใช้ระบบการจัดส่ง (Fulfillment) แบบดั้งเดิม

2. SMOT หรือ Second Moment of Truth เป็นช่วงเวลาที่ลูกค้าซื้อสินค้าไปแล้ว และมีประสบการณ์ในการใช้งานสินค้าดังกล่าว เค้าเหล่านั้นอาจจะมาเขียนรีวิวแบ่งปันข้อมูลบนเว็บไซต์ก็เป็นได้

3. search engine โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย. เสิร์ชเอนจินส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการ

4. Google AdWords การโฆษณาหรือโปรโมทเว็บไซต์รูปแบบหนึ่งกับ Google มีการคิดค่าใช้จ่ายโฆษณาแบบ pay per click เป็นการจ่ายโฆษณาตามที่มีการคลิ๊กดูโฆษณา การเสียค่าใช้จ่ายแบบนี้จะเป็นการเสียค่าใช้จ่ายตามจริง เมื่อผู้ใช้บริการค้นหาข้อมูลคลิกเข้าชมเว็บไซต์เท่านั้น และโฆษณาจะปรากฏให้ผู้ชมเห็นตามคีย์เวิร์ด (Keyword) หรือ กลุ่มคำที่เลือกไว้ซึ่งเป็นคำที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ

5. Natural Search เป็นการที่ทำให้เว็บไซต์ติดอันดับอยู่ในลำดับต้นๆ ของผลการค้นหาด้วยคีย์เวิร์ด (Keyword) หรือคำที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ สินค้า บริการ ในส่วนของการแสดงผลลัพธ์ปกติของ Search Engine จากการค้นหาของ Search Engine ไม่ว่าจะเป็นหน้าแรกตั้งแต่อันดับ1-10 และไม่เกินหน้าที่สองตั้งแต่อันดับ 11-20 จะได้รับการเข้าเยี่ยมชมบ่อยครั้งมากที่สุด ยิ่งอันดับสูงเท่าไรอัตราการเยี่ยมชม หรือการคลิกเพื่อเข้าชมเว็บไซต์ก็จะสูงตามไปด้วย ทำให้เว็บไซต์สร้างยอดขาย และจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ได้

6. First Moment of Truth คือ เมื่อเข้าไปในสโตร์ แล้วสามารถเห็นสินค้าทันที

7. SoLoMo เป็นกลยุทธ์หนึ่งของการตลาดที่วิเคราะห์ากพฤติกรรมของผู้บริโภครูปแบบใหม่ อันที่จริงก็ไม่ได้ใหม่ เพียงแค่ตอนนั้นเรายังจำกัดความมันไม่ได้ ย่อมาจาก Social Location และ Mobile นั่นแปลว่าเราหนีไม่พ้นเครือข่ายสังคมออนไลน์ Social Network หรือ Social Media มีการบอกต่อ มีการแชร์กัน มีการเล่าเรื่อง มีการเปิดประเด็น มีเพื่อน และมีการระบุ Location หรือตำแหน่งผ่านระบบ GPS ซึ่งเป็นแทรนด์ที่มาแรงในปีที่แล้วอย่าง Location Based Service ที่ขึ้นชื่อก็ Foursquare, Facebook Place, Google Place เป็นต้น และกิจกรรมทุกอย่างต้องอยู่บนสมาร์ทโฟน ทั้งสามตัวเป็นปัจจัยหลักที่ผู้ให้บริการต้องพัฒนาคอนเท็นท์ และแอพพลิเคชัน ที่สามารถรองรับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นบน Social Location และ Mobile หรือ SoLoMo ได้

8. Second Moment of Truth การที่เราใช้สินค้า แล้วรู้สึกว่าสินค้านี้ตอบโจทย์ ตอบความคาดหวัง

9.Google+ (Google Plus) คือโครงการของ Google ที่มีความพยายามมานานหลังจากมีการออกมายอมรับก่อนหน้านั้นว่า Google ขยับตัวช้าไปในเรื่องนี้แถมยังมีข้อเสนอพิเศษให้กับพนักงานที่ สามารถคิดโครงการ Social Networks ให้ออกมาประสบความสำเร็จอีกด้วย

10. mobile Site เปรียบเทียบกับการโฆษณาบน website ทั่วไปนั้น คือความไม่แออัด ของโฆษณา เนื่องจากปกติแล้วในแต่ละ mobile site จะมี banner โฆษณาเพียงหนึ่งชิ้นต่อหน้า แต่บน website ทั่วไปมักจะมีหลายโฆษณา รูปแบบการโฆษณาผ่านมือถือแบบที่สี่คือการโฆษณาบน banner ของ application ต่างๆ ที่ใช้งานบนโทรศัพท์มือถือ

11. PageRank ค่าลำดับคะแนนที่ Google ประเมินให้กับคุณภาพของเนื้อหา ในหน้าเว็บเพจแต่ละหน้า ที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์

12. Google friendly นำเสนอหน้าเว็บแรกให้มีคุณภาพสูง หากหน้าเว็บของมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องการศึกษาค้นคว้า จะช่วยดึงดูดผู้เข้าชมจำนวนมาก 
13. Keywords คือ คำที่ใช้แทนตัวในการเรียกค้นหาของแต่ละเว็บไซต์ ว่าจะใช้คำค้นหาอะไรเป็นหลัก ในหน้าเว็บเพจนั้นๆ เพื่อให้เวลาป้อนคำค้นหานี้ลงไปที่ Search Engine แล้ว จะทำให้ผู้ค้นหาคำนี้ หาเราเจอในหน้าค้นหานั้น ซึ่งจะอยู่ในลำดับไหนหรือหน้าใดของการค้นหานั้นก็ขึ้นอยู่กับการถูกจัดลำดับ ใน Search Engine

14. Malware ประเภทของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกสร้างขึ้นมา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะทำลายหรือสร้างความเสียหายให้แก่ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่าย หรือทรัพย์สินและข้อมูลของผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์

15. Google maps คือ บริการเกี่ยวกับแผนที่ ผ่านเว็บบราวเซอร์ ของ Google เราสามารถเปิดเว็บไซต์จากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ เพื่อ เปิดใช้ บริการแผนที่ของ Google maps

16. Viral Marketing (ไวรอล มาเก็ตติ้ง) หรือ การตลาดแบบไวรัส คือเทคนิคการทำการตลาดที่ใช้สื่อ Social Networks ที่มีอยู่แล้ว เช่น facebook, hi5, และอีกมากมายนับไม่ถ้วน ในการทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักมากขึ้น หรือ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการตลาดด้านอื่นด้วย เช่น สามารถขายผลิตภัณฑ์ได้ โดยเปรียบเสมือนกับกระบวนการแพร่ไวรัส ซึ่งเป็นลักษณะการบอกต่อ ปากต่อปาก หรือที่เรียกว่า Word-of-Mouth (WOM) โดยจะมีอยู่หลายรูปแบบด้วยกัน

17. Google Translate โปรแกรมแปลภาษาโดยอ้างอิงสถิติในการแปล (ซึ่งสามารถแปลได้แบบข้อความและทั้งเว็บ) โดยปกติแล้วโปรแกรมส่วนใหญ่จะใช้แนวทางอ้างอิงกฎ และต้องใช้การนิยามคำศัพท์และไวยากรณ์จำนวนมากในการแปล แต่ทีมงาน Google ได้ทำการเพิ่มข้อมูลจำนวนมากให้กับโปรแกรมทั้งภาษาเดียวกันและภาษาปลายทาง และเพิ่มข้อความตัวอย่างการแปลที่แปลโดยมนุษย์ ซึ่งทางทีมงาน Google ได้ใช้เทคนิคเชิงสถิติ ให้โปรแกรมอ้างอิงหลักการ กลุ่มคำ ที่มนุษย์ได้ทำการแปลไว้ โดยทีมงาน Google ได้แจ้งไว้ว่าได้ผลลัพท์ที่ดีกว่าวิธีเดิม

18. online business การทำธุรกรรมผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

19. SEO หรือ Search Engine Optimization เป็นการช่วยให้เว็บไซต์ได้ขี้นลำดับต้นๆของผลการค้นหา ซึ่งการเลือก keyword เพื่อทำ seo เป็นส่วนที่สำคัญมากขั้นตอนหนึ่งของการทำ seo เพื่อโปรโมทเว็บของคุณ เนื่องจากถ้าเราเลือก keyword ที่ไม่ถูกต้องไม่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย การทำ seo ก็จะไม่ก่อให้เกิดรายได้ตามมา ทำให้ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนทั้งเวลาและเงินที่เสีย

20. Engage yourcustomer anywhere anytime คือ การค้นหาบนมือถือไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถเข้าถึงโฆษณาเราได้ โดยมี Mobile site ที่ได้รับความนิยมมาก

ให้นักศึกษา ค้นหา ตัวอย่างของ การทำ E-Business ในภาคเอกชน พร้อมอธิบายถึงการทำงาน และการประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ กับ ธุรกิจ


การแสวงหาค่าเช่าในระบบกิจการพลังงาน: กรณีพลังงานไฟฟ้า

งานศึกษาชิ้นนี้จัดทำขึ้นเพื่อพยายามที่จะวิเคราะห์อุตสาหกรรมพลังงาน ในส่วนของพลังงานไฟฟ้า ในมุมมองของการแสวงหา ค่าเช่าทางเศรษฐกิจ (Economic rent) หรือ กำไรเกินปรกติ (Super normal profit) โดยภาคเอกชน เพื่อที่จะสร้างความเข้าใจ และ ให้แนวทางถึงการจัดการ กิจการไฟฟ้าอันเป็นกิจการที่กระทบกับคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งทางฝั่งผู้ผลิตและผู้บริโภค อย่างกว้างขวาง ว่าควรมีทิศทางหรือ วิธีการจัดการเช่นไร

โดยการศึกษาชิ้นนี้จะได้แบ่งลำดับการอธิบายออกเป็น 4 ส่วนด้วยกันได้แก่ บทที่1 เป็นบทที่จะอธิบายถึงกรอบแนวคิดทางทฤษฎี ในการทำความเข้าใจอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้า อันได้แก่แนวคิดเรื่องการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ เมื่อกรอบแนวคิดทฤษฎีมีความชัดเจนตรงกันแล้ว บทที่ 2 จะได้สร้างแบบจำลองในการอธิบายถึงโครงสร้างของค่าเช่าทางเศรษฐกิจ ในแต่ละลักษณะการจัดการอุตสาหกรรมพลังงาน และ พยายามจัดกลุ่มว่าอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้า มีลักษณะตรงกับประเภทใดมากที่สุด บทที่ 3 จะอธิบายถึงข้อทำนายทางทฤษฎีว่า การแสวงหาค่าเช่า ในกิจการพลังงานไฟฟ้านั้น สามารถทำเช่นไรได้บ้าง ซึ่งจะได้ขยายความด้วย การนำปรากฏการณ์เชิงประจักษ์มาสนับสนุน และ นำมาสู่ บทที่ 4 ซึ่งจะทำหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และ สรุปการศึกษาชิ้นนี้

บทที่ 1: ค่าเช่าทางเศรษฐกิจคืออะไร?

ค่าเช่าทางเศรษฐกิจ หรือ กำไรเกินปรกติ1 นั้น เป็นสิ่งที่ทุกคน โดยเฉพาะภาคเอกชนซึ่งทำธุรกิจปรารถนา อย่างไรก็ตามแต่ กำไรเกินปรกติไม่อาจจะดำรงอยู่ได้โดยตลอดหากตลาดมีสภาพการแข่งขันที่ดี อันได้แก่ การมีมีสารสนเทศที่สมบูรณ์ และ มีทำนบกีดกั้นในการเข้าออกจากตลาดน้อย (Barrier to exit and entry) ทั้งนี้เพราะ เมื่อมีค่าเช่าทางเศรษฐกิจดำรงอยู่ที่ใด ก็จะจูงใจให้เกิดผู้ผลิตรายใหม่ๆเข้ามาสู่ตลาดมากยิ่งขึ้น และ จะไปส่งผลให้ ค่าเช่าทางเศรษฐกิจเหล่านั้นถูกแบ่งปันไปกระทั่งเหลืออยู่เพียงระดับกำไรตามปรกติ (normal profit) เท่านั้น (Colander, 1984 อ้างถึงใน สมบูรณ์ ศิริประชัย, ๒๕๓๓)

ดังนั้น หากต้องการที่จะแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ (Rent seeking) หรือ ธำรงค่าเช่าทางเศรษฐกิจ (Rent protection) ของตนเองเอาไว้ให้ได้ ย่อมต้องไปลดการกระจายตัวของสารสนเทศ และ เพิ่มทำนบกีดขวางการเข้าออกจากตลาดให้มากยิ่งขึ้น หรือ ในอีกนัยหนึ่งอาจกล่าวได้ว่า ผู้ที่ต้องการค่าเช่าทางเศรษฐกิจ ต้องครอบครองอำนาจผูกขาด (Monopoly power) ให้ได้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง นั่นเอง

กระบวนการแสวงหาค่าเช่า และ ธำรงค่าเช่าทางเศรษฐกิจ ดังกล่าวในหลายกรณีอาจเป็นประโยชน์ ทว่า ในหลายกรณีอาจก่อให้เกิด ภาระต้นทุนทางสังคม (Social cost) ค่อนข้างมาก ยกตัวอย่างเช่น การที่ภาคเอกชนต้องการจะผูกขาดค่าเช่าทางเศรษฐกิจ จึงได้ส่งนักล็อบบี้ไปผลักดันกฎหมายที่เอื้ออำนวยให้ตนเองสามารถผูกขาดการส่งออกสินค้าบางตัวเองไว้แต่เพียงผู้เดียว ซึ่งถือเป็นลักษณะของการ แสวงหาค่าเช่าโดยการสร้างภาวการณ์ผูกขาดเทียม (Artificial rent creation)

กระบวนการในการล็อบบี้เพื่อผลักดันกฎหมายที่ได้ยกตัวอย่างมานี้ ปรกติแล้ว จะก่อต้นทุนทางสังคมอย่างน้อย 2 ประการคือ (1) เกิดส่วนสูญเสียทางเทคนิคที่เรียกว่า Dead weight loss หรือ Harberger’s triangle (ดู Harberger, 1954) และ (2) สมมติว่า มีผู้ร่วมแข่งขันในการแสวงหาค่าเช่ามากกว่า 1 รายจ้างนักล๊อบบี้มาวิ่งเต้นเพื่อผลักดันกฎหมาย แต่กฎหมายสามารถเอื้อประโยชน์ให้แก่เอกชนได้เพียงรายเดียว ก็จะส่งผลให้เกิดการสูญเสียเงิน ไปอย่างสูญเปล่าในการล็อบบี้ ทั้งที่สามารถนำเงินดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ ได้อีกมาก2 (Tullock, 1987) เป็นต้น

ทว่า หากเป็นกรณีของธุรกิจซึ่ง เกี่ยวพันถึง คนจำนวนมาก อาทิ สาธารณูปการ, ความมั่นคง ฯลฯ ต้นทุนต่อสังคม จากการปล่อยให้เกิดการผูกขาด โดยภาคเอกชนซึ่งต้องการกำไรสูงสุดเป็นเป้าหมาย นั้นมีโอกาสที่จะมากขึ้นได้อีกมาก อาทิ หากธุรกิจพลังงานไฟฟ้าสามารถผูกขาด การให้บริการ โดยปราศจากการกำกับดูแลที่เหมาะสมก็อาจนำมาซึ่งการปรับเพิ่มค่าไฟที่แพง และ ขาดแคลนการบริการไฟฟ้าในบริเวณซึ่งไม่เกิดความคุ้มค่าเชิงเศรษฐกิจ เป็นต้น

ธุรกิจ พลังงานไฟฟ้า ซึ่งถือเป็นธุรกิจที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของคนจำนวนมากในตามเงื่อนไขข้างต้น จึงสมควรที่จะได้รับการศึกษาเกี่ยวกับการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ และ จัดการค่าเช่าทางเศรษฐกิจ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยลำดับต่อไปผู้ศึกษาจะนำเสนอแบบจำลองอย่างง่ายที่จะอธิบายถึงลักษณะของโครงสร้างอุสาหกรรมพลังงานที่เป็นไปได้ และ ลักษณะของค่าเช่าในแต่ละรูปแบบโครงสร้าง

บทที่ 2: รูปแบบของอุตสาหกรรมพลังงาน และ ค่าเช่าทางเศรษฐกิจ

อุตสาหกรรมพลังงานนั้น ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า การจะปล่อยให้เกิดการผูกขาดโดยภาคเอกชน แบบปราศจากการกำกับดูแลนั้น เป็นเรื่องที่อาจจะส่งผลให้เกิด ต้นทุนทางสังคมได้ค่อนข้างมาก ดังนั้นในบทนี้จะพยายามอธิบายถึงผลต่อค่าเช่าทางเศรษฐกิจ ในแต่ละลักษณะของโครงสร้างการกำกับดูแลของรัฐต่อบริษัทพลังงาน

หากแบ่งตามสิทธิความเป็นเจ้าของ เราอาจแบ่งออกได้เป็นสิทธิความเป็นเจ้าของแบบรัฐถือครองร้อยละ 100 (Pure government – State Owned Enterprise) ไปกระทั่งถึงความเป็นเอกชนร้อยละ 100 (Pure private) ซึ่งในกลุ่มของวิสาหกิจพลังงานที่รัฐบาลถือครองร้อยละ 100 อยู่แล้วนั้น ถือเป็นการกำกับดูแลได้โดยสมบูรณ์อยู่แล้ว [แบบ A] ตัวอย่างเช่น การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เป็นต้น จึงมิได้นำมาพิจารณาเป็นสาระสำคัญ ในการศึกษาชิ้นนี้

ประเด็นที่น่าสนใจคือ ทางฝั่งของการที่ภาคเอกชนได้เข้ามามี่ส่วนได้เสียในผลกำไรของกิจการพลังงาน นั้นยังอาจแบ่งออกได้อีกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆตามการถูกกำกับดูแล กล่าวคือ มีอุตสาหกรรมพลังงานที่ (1) ถูกกำกับดูแลโดยตรงจากผู้กำกับดูแลตามกฎหมาย (Regulatory unit) [แบบ B] เช่น ธุรกิจโรงไฟฟ้าเอกชน และ (2) แบบที่มิได้ถูกกำกับดูแลโดยตรงจากผู้กำกับดูแลตามกฎหมาย3 [แบบ C] เช่น ธุรกิจปิโตรเลียม และ ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น โดยทั้งหมดที่ได้กล่าวมานี้สามารถอธิบายได้

บทที่ 3: การแสวงหาค่าเช่าในกิจการพลังงานไฟฟ้า

ดังภาพที่ 1 จะพบว่าส่วนเกินทางเศรษฐกิจในอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าเอกชน ที่ถูกกกำกับดูแลโดย หน่วยงานกำกับดูแลนั้น จะมีกำไรส่วนเกิน หรือ ค่าเช่าทางเศรษฐกิจค่อนข้างน้อย โดยเปรียบเทียบกับ กรณีที่ไม่มีการกำกับดูแล อย่างไรก็ตามแต่ เนื่องจากเอกชนย่อมมีแรงจูงใจในการแสวงหาค่าเช่าที่มากขึ้น เท่าที่สามารถจะกระทำได้ ดังนั้น แม้ว่าจะมีการกำกับดูแลโดยหน่วยงานกำกับดูแลแล้วก็ตาม เอกชนสามารถที่จะดำเนินการได้อีกหลายประการ เพื่อขยายค่าเช่าที่ตนเองถือครองอยู่ ในบทที่ 3 นี้มุ่งหมายที่จะอธิบายถึงกระบวนการเหล่านั้นในทางทฤษฎีว่า สามารถกระทำได้อย่างไรบ้างโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้คือ

– โครงสร้างตลาดพลังงานไฟฟ้า แบบมีผู้กำกับดูแล

โครงสร้างของตลาดกิจการพลังงานไฟฟ้าอย่างง่ายนั้นประกอบไปด้วย 4 กลุ่มใหญ่ๆคือ

(1) กลุ่มของผู้ดำเนินนโยบาย ซึ่งก็คือ รัฐบาล (อำนาจบริหาร) และ รัฐสภา (อำนาจในการออกกฎหมาย) เป็นสองสถาบันที่ จะมีผลอย่างสำคัญในการกำหนดว่า หน่วยงานกำกับดูแลจะมีพลัง จำกัดไม่ให้เอกชนแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจมากกระทั่ง กระทบกับผู้บริโภค ได้มากน้อยเพียงใด และ ขณะเดียวกันพลังสำหรับ จำกัดการแสวงหาค่าเช่าดังกล่าว ก็ไม่ไปดำเนินการจนทำให้หมดแรงจูงใจในการลงทุนด้านพลังงานไฟฟ้า

(2) กลุ่มของหน่วยงานกำกับดูแล หรือในกรณีของกประเทศไทยได้แก่ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ซึ่งมีหน้าที่ต้องกำกับดูแลไม่ให้เอกชนสามารถแสวงหาค่าเช่าได้เกินพอดี ภายใต้กรอบของอำนาจหน้าที่ และ แนวโนโยบายที่ผู้ดำเนินนโยบายกำหนดมา กรบวนการดังกล่าวนี้ อาจมีได้ตั้งแต่ การออกใบอนุญาตประกอบการโรงไฟฟ้า หรือ การกำกับราคาค่าไฟฟ้าบางส่วน เป็นต้น

(3) กลุ่มผู้บริโภค ซึ่งเป็นผู้ที่ซื้อไฟฟ้าไปใช้งาน ทั้งนี้อาจอยู่ในภาคการผลิต ในฐานะผู้ประกอบการที่ต้องจ่ายค่าไฟฟ้าในการดำเนินการผลิตสินค้า หรือ อาจอยู่ในรูปของครัวเรือนที่ใช้เพื่อการดำรงชีวิตประจำวันก็ได้ โดยในทางเศรษฐศาสตร์แล้ว การซื้อไฟฟ้าในมูลค่าที่ถูก จะทำให้ค่าครองชีพที่ต่ำ ซึ่งจะทำให้ยิ่งมีความสุข หรือ สวัสดิการสังคมสูงขึ้น4

(4) กลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้า (เอกชน) ซึ่งทำหน้าที่ผลิตไฟฟ้าขายให้แก่ ผู้บริโภคภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานกำกับดูแล และ กลไกการกำกับดูแลอื่นๆ เช่น ข้อกฎหมายต่างๆ เป็นต้น ทั้งนี้ จะพบว่า ผลประโยชน์ของผู้ผลิตไฟฟ้านั้นมีความขัดกันในเชิงผลประโยชน์กับผู้บริโภคอย่างชัดเจนเพราะ โดยธรรมชาติผู้ผลิตไฟฟ้าต้องการที่จะได้รับกำไรจากการขายไฟฟ้าให้แก่ผู้บริโภคในระดับสูงสุด (ซึ่งกำไรดังกล่าวจะเกินกว่า กำไรปรกติอยู่แล้วในตลาดที่มีการออกใบอนุญาต เพราะ มีทำนบกีดขวางการเข้าแข่งขันในตลาด) เช่นนี้เอง หน่วยงานกำกับดูแลจึงต้องเข้ามาช่วยกำกับดูแล กลุ่มผู้ผลิตในมิติต่างอย่างเหมาะสม

ตารางที่ 1: แสดงถึงความอ่อนแอของขอบเขตอำนาจหน้าที่หน่วยงานกำกับดูแล ซึ่งเป็นภาระของฝ่ายนิติบัญญัติและบริหารจะต้องปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น, ที่มา: ธรรมาภิบาลกิจการไฟฟ้าในประเทศไทย: กระบวนการการกำกับดูแล (ไม่ปรากฏปี)

ประเด็น รายละเอียด ข้ออ่อน
อำนาจตามกฎหมาย อำนาจตามระเบียบสำนักนายกฯ โดยอาศัย พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534ไม่มีอำนาจในการเรียกข้อมูล ปรับโทษ หรือเพิกถอนใบอนุญาต และไม่สามารถ กำกับเอกชนได้ ส่งผลให้ อำนาจในการกำกับดูแลการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจอ่อนแอ เพราะ ปราศจากอำนาจทำโทษที่ปฏิบัติได้จริง (Credible threat) และ ไม่มีสารเสนเทศเพียงพอจะตัดสินใจ
ผลคือ เอกชนมีแนวโน้มแสวงหาค่าเช่าสูงขึ้น
ขอบเขตหน้าที่ กิจการไฟฟ้า กำกับดูแลค่า Ft กำหนดมาตรฐานความปลอดภัย และการให้บริการ, กำกับการแข่งขันสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ และ ตรวจสอบแผนการลงทุนในกิจการไฟฟ้า ทว่า ยังไม่ครอบคลุมหน้าที่สำคัญได้แก่ การกำหนดค่าไฟฟ้าฐาน, การออกใบอนุญาต, การอนุมัติสัญญาซื้อขายไฟฟ้า และเห็นชอบการเชื่อมโยงระบบ และ อำนาจบางส่วนไปอยู่ที่คณะกรรมการกิจการผลิตไฟฟ้า การกำกับดูแล “ค่าไฟฟ้า” ยังทำได้ไม่เต็มที่ เพราะมีช่องโหว่ให้เกิดการแทรกแซงเพื่อผลักดันให้ค่าไฟฟ้าสูงขึ้นได้ผ่านช่องทางอื่นๆนอกจากค่า FT ทั้งยังมีอำนาจที่ไม่ครอบคลุม เครื่องมือป้องกัน การแสวงหาค่าเช่าอื่นๆ อาทิ การการอนุมัติสัญญาซื้อขายไฟฟ้า และเห็นชอบการเชื่อมโยงระบบ จึงทำให้อำนาจการจัดการค่าเช่าของ หน่วยงานกำกับดูแล มีไม่มาก
ผลคือ เอกชนมีแนวโน้มแสวงหาค่าเช่าสูงขึ้น

การเปิดเผยข้อมูล ประชาชนมี “สิทธิได้รู้” ตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสาร และ การเข้าถึงข้อมูลทำได้ง่ายผ่าน WEB อย่างไรก็ตาม ยังคงมีขั้นตอนไม่ชัดเจน ที่สารสนเทศ มีความจำกัด ทำให้ภาคเอกชนสามารถที่จะแสวงหาค่าเช่าได้ โดยที่มีความเสี่ยงจากการถูกตรวจสอบ, ทำโทษ หรือ ดีรับการต่อต้านจากผู้บริโภคน้อยลง
ผลคือ ต้นทุนในการแสวงหาค่าเช่าจึงน้อยลง
การตัดสินใจ/คำสั่ง ไม่จำเป็นต้องให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจหรือ ออกคำสั่ง ส่งผลให้ไม่สามารถที่จะสอบทาน เหตุผลเบื้องหลังการตัดสินใจออกคำสั่งต่างๆ ได้ชัดเจน
ผลคือ ต้นทุนในการแสวงหาค่าเช่าจึงน้อยลง
หลักกำหนดค่าไฟฟ้า อิง มติ ครม. 30 ส.ค. 48 และ มีการศึกษาวิเคราะห์ ทว่า ภาษามีศัพท์เทคนิคมาก และ ถูกมองว่า ไม่มีกระบวนการการมีส่วนร่วม ส่งผลให้ กระบวนการเฝ้าระวัง ติดตามความเคลื่อนไหว หรือ ทำความเข้าใจหลักการกำหนดค่าไฟเป็นไปอย่างยากลำบาก ภาคประชาชนที่ไม่ใช่ผู้ชำนาญการสารถเข้าใจได้ยาก
ผลคือ ต้นทุนในการแสวงหาค่าเช่าจึงน้อยลง
การสรรหาบุคลากร แม้คณะกรรมการ กำกับกิจการพลังงานจะมิได้ถูกเลือกโดยฝ่ายการเมืองโดยตรง ทว่า กรรมการสรรหา แต่งตั้งโดยฝ่ายการเมือง คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน จึงมีโอกาสถูกครอบงำได้มาก ผ่านกระบวนการคัดเลือกที่ไม่มีธรรมาภิบาล
ผลคือ ฝ่ายการเมืองแทรกแซงหน่วยงานกำกับฯ ได้ง่ายยิ่งขึ้น จึงจูงใจให้การแสวงหาค่าเช่าผ่านฝ่ายบริหารมีโอกาสสำเร็จสูงขึ้น และ ต้นทุนการแสวงหาค่าเช่าลดลง
งบประมาณ งบประมาณหน่วยงานกำกับดูแลผูกตั้งโดยกระทรวงพลังงาน ทำให้อิสระทางด้านงบประมาณจากฝ่ายการเมืองถูกจำกัดลง คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน จึงมีโอกาสถูกครอบงำได้มาก ผ่านกระบวนการงบประมาณ
ผลคือ ฝ่ายการเมืองแทรกแซงหน่วยงานกำกับฯ ได้ง่ายยิ่งขึ้น จึงจูงใจให้การแสวงหาค่าเช่าผ่านฝ่ายบริหารมีโอกาสสำเร็จสูงขึ้น และ ต้นทุนการแสวงหาค่าเช่าลดลง


ปัญหาขั้นต้นทั้งหมดที่ได้กล่าวมานี้ บ้างเป็นปัญหาที่เกิดจาการกระบวนการทางนิติบัญญัติซึ่งกำหนดกรอบอำนาจ ความสามารถในการกำกับดูแลกิจการพลังงานของ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานมาอย่างไม่รัดกุมเพียงพอ ต้นทุนในการแสวงหาค่าเช่าของภาคเอกชนจึงต่ำ และ การแสวงหาค่าเช่าของภาคเอกชน (ที่ในทางนิตินัยจะถูกกำกับอยู่ก็ตาม) ก็จะสูงขึ้นกว่าที่ควรจะเป็นในกรณีที่มีหน่วยงานกำกับดูแลขึ้นมาแล้ว

ทว่าปัญหาอีกส่วนหนึ่งที่เด่นชัดก็คือ เงื่อนไขทางกฎหมาย และ/หรือ โครงสร้างการบริหารบางประการ ไปส่งผลให้ฝ่ายการเมืองสามารถที่จะเข้ามาแทรกแซง การทำงานของหน่วยงานกำกับดูแลได้ง่าย ดังนั้น ซึ่งผลในทางทฤษฎีจะทำให้ การแทรกแซงที่แต่เดิมแยกกันอย่างชัดเจนว่า การแทรกแซงฝ่ายบริหาร และ นิติบัญญัติเป็นการแทรกแซงในกรอบของทิศทางนโยบาย หรือ กรอบการทำงานของผู้กำกับดูแล กลายเป็นการแทรกแซงที่จะส่งผลต่อการทำงานของ หน่วยงานกำกับดูแลได้โดยตรงเลย

กล่าวคือ การที่ระบบถูกออกแบบมาให้ฝ่ายการเมืองแทรกแซงการทำงานของหน่วยงานกำกับดูแลได้ง่ายนั้นจะทำให้ การแสวงหาค่าเช่าโดยภาคเอกชน ได้รับประโยชน์พ่วงทีเดียวพร้อมกันทั้ง 3 ระดับคือ ระดับบริหาร นิติบัญญัติ และ ระดับปฏิบัติการ (หน่วยงานกำกับดูแล) พร้อมกันเลย ตัวอย่างเช่น แทนที่ติดสินบนนักการเมืองเพื่อให้วางนโยบายลงมาที่หน่วยงานกำกับดูแลเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่ตนเอง เปลี่ยนมาเป็นการจ่ายสินบนเพื่อให้นักการเมือง “สั่งการ” ลงมาในระดับปฏิบัติการเลยว่าต้องการให้หน่วยงานกำกับดูแลต้องทำอะไรบ้าง

– การแสวงหาค่าเช่าผ่านช่องทางผู้กำกับดูแล

การแทรกแซงในระดับที่สองนั้น เป็นการแทรกแซงเข้าไปที่ตัวของหน่วยงานกำกับดูแล โดยตรงเลย ผ่านสองลักษณะเช่น

(1) การเข้าไปติดสินบนเพื่อให้เจ้าพนักงานในระดับปฏิบัติการ ดำเนินการในลักษณะที่อาจจะผิดไปจากหลักเกณฑ์ ก่อให้เกิดการแสวงหากำไรเกินปรกติ ตัวอย่างเช่น การรับรองใบอนุญาตให้ทั้งที่ การประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมยังไม่ผ่าน (การไม่ทำตามหลักเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อมอาจทำให้ต้นทุนผู้ผลิตไฟฟ้าต่ำลงและ เอกชนได้รับกำไรที่เกินปรกติ ในขณะที่ต้นทุนสังคมสูงขึ้น) เป็นต้น

(2) โดยการหาวิธีการส่งคนของตนเอง หรือ ที่มีผลประโยชน์ผูกพันกับกำไรของกิจการพลังงานเอกชนเข้าไปเป็นกรรมการในหน่วยงานกำกับดูแล เพื่อรักษาผลประโยชน์ในฐานะกรรมการโดยตรงเลย

บทที่ 4: บทสรุป และ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย (Conclusion and Policy Recommendation)

จากการวิเคราะห์โครงสร้างการแสวงหาค่าเช่า ในกิจการพลังงานไฟฟ้าที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ ถือเป็นเพียง ข้อสรุปเบื้องต้น (Preliminary result) ที่ผู้วิจัยได้พยายามสำรวจความเป็นไปได้ทางทฤษฎี ถึงการแสวงหาค่าเช่าที่น่าจะเกิดขึ้นได้ในกิจการพลังงานไทย และ รวบรวมข้อค้นพบเชิงประจักษ์บางส่วนที่สนับสนุนข้อทำนายเรื่องการแสวงหาค่าเช่าทางทฤษฎีเหล่านั้นมานำเสนอเอาไว้ ซึ่งโดยมากจะแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบสำคัญคือ การแทรกแซงเข้าไปฝ่ายการเมือง, การแทรกแซงที่ฝ่ายปฏิบัติการ (หน่วยงานกำกับดูแล) และ การแทรกแซงที่ภาคประชาชน (ผู้บริโภค) โดยตรง

ทั้งนี้ ผู้วิจัยมีความเห็นว่า สำหรับกรณีประเทศไทย ปัญหาที่ร้ายแรงที่สุดน่าที่จะเป็นกรณีของการแทรกแซงข้าไปที่ฝายการเมืองโดยตรง ทั้งนี้เพราะ ในเชิงโครงสร้างแล้ว ฝ่ายการเมืองและหน่วยงานกำกับดูแลไม่ได้มีความเป็นอิสระต่อกันมาก การแทรกแซงฝ่ายการเมืองเสมือน เป็นการควบรวมการแสวงหาค่าเช่าผ่านองค์กรกำกับดูแลไปด้วยในตัว อีกทั้ง ต้นทุนในการแสวงหาค่าเช่าผ่านฝ่ายการเมืองของไทยนั้นอาจไม่สูงมาก เพราะ สารสนเทศ และ ความโปร่งใสมีค่อนข้างน้อยอยู่แล้ว การแทรกแซงในระดับฝ่ายการเมืองโดยตรงจึงน่าเป็นห่วงที่สุด


เอกสารอ้างอิง (Reference)

สมบูรณ์ ศิริประชัย (2533). “การแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ: บทสำรวจสถานะความรู้เบื้องต้น” ใน เศรษฐศาสตร์การเมืองและสถาบัน สำนักท่าพระจันทร์. สำนักพิมพ์โอเพน บุกส์
http://transform.in.th/2011/04/rent-in-energy-sector/

So Lo Mo social media location mobile , ZMOT


1.So Lo Mo ย่อมาจากคำว่า Social Media Location Mobile มีความหมายโดยรวม คือ เป็นการประยุกต์ใช้ระบบการเชื่อมต่อสื่อสารไร้สายเคลื่อนที่มาใช้ในการสนทนาแบ่งปัน ความคิดเห็นข้อมูล เรื่องสินค้าและบริการผ่านทางระบบสังคมออนไลน์ต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนแบ่งปันประสบการระหว่างกันในการเลือกสินค้าและบริการ โดยผ่านทางระบบการสื่อสารเคลื่อนที่ ซึ่งหลักๆก็คือ สมาร์ทโฟน ซึ่งผู้บริโภคจะสนทนาแบ่งปัน ข้อมูลประสบการณ์ระหว่างกัน ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการ สถานที่ตั้ง ตลอดจนข้อคิดเห็นและข้อเปรียบเทียบต่างๆ โดยส่วนใหญ่แล้ว เราจะผ่านการสนธนาบนโลกสังคมออนไลน์
So ย่อมาจากคำว่า Social แปลตรงตัว คือ สังคม แต่ไม่ใช่สังคมธรรมดา แต่มันเป็นสังคมออนไลน์ ซึ่งปัจจุบันที่โด่งดังคือ Facebook , Twitter
Lo ย่อมาจากคำว่า Location แปลว่า สถานที่ สถานที่ หมายถึง Google Map ตอนนี้หลายเว็บไซต์ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าออนไลน์ บริษัท หรือแม้แต่เว็บไซต์ส่วนตัวได้มีการใช้งานA pplication ที่ชื่อว่า Google Map เข้ามามีบทบาทในการตัดสินใจการเลือกซื้อสินค้าหรือทัวร์ต่าง ๆ เช่นการปักหมุดร้านค้า หรือ สถานที่ท่องเที่ยวของเจ้าของเว็บไซต์หรือทัวร์ต่างๆ
Mo ย่อมาจากคำว่า Mobile ไม่ใช่แค่โทรศัพท์มือถือธรรมดา แต่เป็น SmartPhone , iPhone , Tablet ต่าง ๆ ที่ได้ถูกพัฒนา Application บนมือถือเพื่อรองรับการเติบโตของตลาดออนไลน์ในอนาคต ถ้าสังเกตุดีดี บนรถไฟฟ้าหรือตามสถานที่ต่างๆ จะมีคนใช้โทรศัพท์กันมากขึ้นไม่ใช่แค่ใช้พูดคุยกันอย่างเดียวโทรศัพท์ แต่เป็นในลักษณะเลื่อนหน้าจอเพื่อค้นหาข้อมูล อัพเดทสถานะหรือแม้แต่พูดคุยกับเพื่อนออนไลน์
ตอนนี้เราจะเห็นได้ว่าบนโลกออนไลน์มีการเติบโตมากขึ้นมีความสะดวกสบายในหลายด้านเกี่ยวกับการสื่อสารต่างๆในยุคปัจจุบันทำให้เราต้องก้าวทันโลกออนไลน์ต่างทันเหตุการณ์ในโลก Network


2.ZMOT

ZMOT หรือ Zero Moment of Truth คือ การที่ลูกค้าเข้าไปศึกษาข้อมูลของสินค้าที่ตนสนใจก่อนการตัดสินใจซื้อ ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การดูรีวิวสินค้า การดูเรตติ้ง ดูคลิปแนะนำต่างๆ จาก Youtube หรือแม้กระทั่งการสแกน Barcode จากโทรศัพท์มือถือแล้วเปิดอ่านรีวิว เป็นต้น
สิ่งที่เป็นปัจจัยทำให้เกิด ZMOT คือ การเจริญเติบโตของอินเตอร์เน็ตและเครื่องมือที่ใช้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตอย่าง Smartphone ที่ปัจจุบันได้มีการพัฒนาให้รองรับ Application ต่างๆ อย่างมากมาย จึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายและรวดเร็ว
ZMOT มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่างเช่น เมื่อลูกค้าต้องการซื้อสินค้าประเภทหนึ่งแต่ลูกค้าไม่มีข้อมูลของสินค้าเลย ลูกค้าก็อาจจะดูรีวิวสินค้าจากเว็บไซต์ต่างๆบนมือถือ ที่เป็น Smartphone เพื่อใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า ซึ่งเป็นสิ่งผู้ประกอบการควรที่จะให้ความสนใจในด้านการนำสินค้ามาเสนอขาย ว่าทำอย่างไรถึงจะให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555



เว็บไซต์ที่มีค่า Page Rank สูง คือ www.belleberry.net
                เว็บไซต์ขายรองเท้าเพื่อสุขภาพและของความสวยความงาม
                จากการสำรวจของ Google มีค่า Page Rank อยู่ในระดับ 4 และค่า Indexจำนวน 3,640 ครั้ง
   ภาพแสดงค่า SEO จาก Google  ของ  www.belleberry.net 







เว็บไซต์ที่มีค่า Page Rank ต่ำ คือ http://www.thaigoal.com/tded/transfer_england.php
                เว็บไซต์ซื้อขายนักเตะของทีม Manchester City Manchester City กับ Manchester United Manchester United
จากการสำรวจของ Google มีค่า Page Rank อยู่ในระดับ 1 และค่า Indexจำนวน 130,000 ครั้ง 






วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555


1. สาเหตุที่ทำให้ธุรกิจ Ecommerce ในประเทศไทย ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร





ในการประกอบธุรกิจแบบ e-commerce นั้นมีทั้งประสบควาสำเร็จ และล้มเหลว ในที่นี้จะกล่าวถึงเว็บที่ไม่เประสบผลสำร็จซึ่งมีสาเหตุมาจาก 

           1 การลอกเลียนแบบ : เป็นการทำธุรกิจตามคนอื่นที่ทำอยู่ก่อนแล้ว เห็นทำเว็บก็ทำตาม เช่น บรรดาพอร์ทัลไซต์ทั้งหลาย ซึ่งที่เห็นหลายรายก็ทำตามทุกอย่าง ไม่มีส่วนใดต่อยอดให้ดีขึ้นเลยก็มี ซึ่งความจริงแล้วการลอกเลียนแบบอาจจะนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน เพียงแต่ใช้หลักการเดียวกันเท่านั้น หรือก็อาจจะใช้กับกลุ่มเป้าหมายเดียวกันได้ หากกลุ่มเป้าหมายนั้นมีจำนวนมากพอ      หรือมากขนาดที่ เว็บไซต์ที่มีอยู่เดิมไม่สามารถที่จะรองรับได้

           2. การอยู่กับความฝัน : เป็นการอาศัยแนวความคิดแต่ไม่ได้ลงมือปฏิบัติให้เห็นจริง หรือทำ ครึ่ง ๆ กลาง ๆ แนวคิดแรก ยังไม่ได้ทำให้เป็นจริงเลย ก็ไปทำแนวคิดที่สองแล้วเป็นอย่างนี้เรื่อยไป  อย่างนี้ถือว่าไม่ประสบผลสำเร็จ

           3. ทำเว็บไซต์ที่วิจิตรสวยงาม : การทำเว็บไซต์ให้สวยงาม เน้นความเลิศหรูจนลืมแก่นแท้ของความต้องการผู้ใช้เว็บหรือกลุ่มเป้าหมายไป กล่าวคือไม่ให้ความสำคัญแก่กระบวนการที่จะให้บริการลูกค้าผู้ใช้เว็บอย่างมีประสิทธิภาพ การได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง และรวดเร็วจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ซึ่งเราต้องให้ความสำคัญในเรื่องนี้ก่อนที่จะไปตกแต่งโฮมเพจให้สวยงาม

           4. ทำเว็บไซต์แบบไร้ทิศทาง : การทำเว็บไซต์ที่นึกอะไรได้ก็ทำไปเรื่อยเปื่อย ไม่ได้นึกถึงความเชื่อมโยงหรือความสัมพันธ์กัน อันจะก่อให้เกิดคุณค่าสูงสุดแก่ผู้ใช้งาน การทำเว็บไซต์ที่ดีนั้น 
หลักการคือต้องทำให้เกิดการเสริมกัน หรือ synergy คือทุกอย่างต้องเกื้อหนุนและมุ่งไปในทิศทางเดียวกัน หรือในลักษณะครบวงจร (one-stop service) มาที่นี่ที่เดียวได้ครบหมดทุกอย่าง

           5. ไม่มีระบบสนับสนุนพื้นฐานที่เพียงพอ : การไม่มีระบบสนับสนุนพื้นฐานที่เพียงพอ คือเป็นประเภท ที่ได้แต่คิด แต่อาจจะไม่ได้มองว่า ระบบหรือเทคโนโลยีสนับสนุนหรือไม่ พอทำไปแล้วครึ่งทางถึงได้รู้ว่า มันไม่มีซอฟต์แวร์หรือเครือข่ายสนับสนุนได้อีกประการหนึ่งก็คือ ไม่ได้จัดหาทั้งคน ทั้งระบบ 
ทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์เตรียมพร้อมไว้ สำหรับการรองรับการขยายตัว ทำแล้วขยายตัวไม่ได้ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการขยายตัวเพื่อเข้าสู่จุดคุ้มทุนและทำกำไร ซึ่งในสภาพเช่นนี้ไม่มีทางเลือกที่ท่านจะประสบความสำเร็จ

           6. ทำงานได้ทีละอย่าง : การทำงานได้ทีละอย่าง กล่าวคือไม่สามารถจัดการกับการงานได้พร้อม ๆ กันหลายงาน ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่จำเป็นสำหรับการบริหารโครงการธุรกิจบนเว็บที่เราต้องทำงานได้หลาย ๆ รูปแบบในเวลาเดียวกัน จะทำที่ละเรื่องเมื่อเสร็จแล้วค่อยทำอีก เรื่องนี้จะไม่ทันกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่ปัจจุบันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเนื่องจากได้รับข้อมูลข่าวสารใหม่ ๆ
 
เพิ่มเติมเข้ามาโดยตลาดจากทุกมุมโลก

           7. คิดเล็กเกินไป : การดำเนินธุรกิจบนเว็บ นั้นถ้าหากคิดเล็กเกินไป ทำให้โครงการที่ทำออกมาไม่สามารถที่จะต่อยอดและขยายตัวออกไปได้ ทำให้ไม่สามารถจะสร้างยอดขายจำนวนมากให้คุ้มทุน ได้ ทั้งนี้เพราะตลาดบนเว็บนั้นมันมีขนาดใหญ่มหาศาล ดังนั้นต้องคิดการใหญ่ มีการกำหนดทิศทางที่จะเติบโตไว้ด้วย





2.  ถ้าอยากจะให้ระบบการขายสินค้าในรูปแบบ E-commerce 
ในประเทศไทยประสบความสำเร็จ น.ศ.คิดว่าควรจะต้อง         
 ประกอบด้วยปัจัยใดบ้าง

การดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จนั้น จะต้องมีปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ 


          1. กล้าตัดสินใจ ประการแรกที่ต้องทำคือ ค้นคว้าหาข้อมูล สร้างจินตนาการ กลั่นกรองความคิด หาช่องทางและโอกาสเมื่อมองเห็น จงกล้าตัดสินใจดำเนินการ เพราะธุรกิจนี้ใช้เงินน้อยมาก เมื่อเทียบกับการเปิดร้านขายสินค้าในห้างสรรพสินค้า หรือตึกแถวทั่วไป และที่สำคัญอย่างยิ่งคือ การขายสินค้าบนเว็บนี้ สามารถขายให้คนได้ทั่วโลกและมีอากาศทั้งค้าปลีก ค้าส่ง และค้าส่งออกเป็นล็อตใหญ่ ฉะนั้น เมื่อเห็นโอกาสจงอย่ารีรอเป็นอันขาด

          2. หน้าที่หลักของท่าน คือ การคิดเรื่องการตลาด เมื่อตัดสินใจแล้วหน้าที่หลักคือ การวางแผนการตลาด คือจะขายให้ใคร ความต้องการและพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมายนั้นเป็นอย่างไร จะวางตำแหน่งสินค้าอย่างไร จะต้องพัฒนาสินค้าอย่างไรเพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายเหล่านั้น จะตั้งราคาสินค้าเท่าใด จะขายผ่านช่องทางใด ตรงไปที่ผู้นำเข้า พ่อค้าส่ง พ่อค้าปลีกหรือผู้บริโภคโดยตรง และจะประชาสัมพันธ์เว็บ หรือมีรายการส่งเสริมการขายอย่างไร จึงจะเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย สิ่งเหล่านี้มีความสำคัญมากกว่าการมีเทคโนโลยีดี ๆ ด้วยซ้ำ

          3. โปรแกรมด้าน e-commerce มีความพร้อมให้ใช้งานอยู่แล้วสำหรับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั้น มีให้ใช้โดยทั่วไปอยู่แล้ว เช่นwww.ecombot.com ซึ่งมีระบบครบถ้วนสมบูรณ์อยู่แล้ว ทั้งหน้าร้าน หรือออกแบบเว็บเพจให้มี ระบบออนไลน์แคตาล็อค ระบบตระกร้า หรือ shopping cart ระบบรับชำระเงินผ่านบัตรเครดิตแบบ real-time ระบบติดตามผลการขาย ระบบออกรายงานขาย ระบบลงทะเบียน search engines เป็นต้น ฉะนั้น หน้าที่ของท่านก็เพียงแต่นำเอาข้อมูลสินค้า ราคา รูปภาพที่เตรียมไว้แล้วป้อนเข้าสู่ระบบเท่านั้น ก็สามารถเปิดใช้งานได้ทันที

          4. ใช้งบประมาณลงทุนน้อย เงินลงทุนที่ใช้เพียงค่าสมาชิกอินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ โมเด็ม และค่าโปรแกรม  e-commerce นอกจากนี้ยังมีการซื้อโปรแกรมระบบ e-commerce ในอัตราเดือนละไม่ถึง 500 บาท ก็เป็นอันเสร็จสิ้น แต่หากท่านไม่มีคอมพิวเตอร์ โมเด็ม และไม่ได้เป็นสมาชิกอินเทอร์เน็ต เลยก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ดังนี้ ค่าเครื่องคอมพิวเตอร์ประมาณ 25,000 บาท ค่าโมเด็ม ประมาณ 3,000 บาท และค่าสมาชิกอินเทอร์เน็ตประมาณเดือนละ 500 บาท หรือรวมเบ็ดเสร็จแล้วลงทุนทั้งหมดอยู่ในราว 30,000 บาท

          5. เร่งงานให้เสร็จตามกำหนด เวลาในการลงมือทำงานแล้ว สิ่งสำคัญต้องเร่งทำเดินงานให้เสร็จทันตามเวลา ไม่ควรเรื่องมาก หรือเขียนคิ้วทาปากให้กับเว็บ ทำการทดสอบสินค้าและราคาก่อน เพราะสาระสำคัญทางการค้ายังมีเรื่องที่ต้องทดสอบอีกมาก และก็ไม่มีใครสนใจความสวยงามของเว็บท่านมากนัก เพราะเขามาซื้อสินค้าไม่ใช้มาซื้อเว็บของท่าน อย่าลืม "เรียบง่าย ดูดี น่าเชื่อถือ" เป็นสำคัญ


ส่วนสำคัญอีกอย่างคือ 


การสร้างเว็บไซต์ให้น่าสนใจ

           ในการออกแบบเว็บไซต์ให้น่าสนใจนั้น เป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่จะเป็นการดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภคได้ ซึ่งหากเขาได้เห็นเว็บไซต์ของเราที่มีการออกแบบที่สวยงาม มีสิ่งที่สนองความต้องการของเขาแล้ว ก็จะทำให้เขาติดตามข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับสินค้า ซึ่งองค์ประกอบที่ถือเป็นสิ่งสำคัญในการออกแบบเว็บไซต์คือ การมีภาพประกอบที่สื่อถึงตัวสินค้า ผลิตภัณฑ์ที่เราจะนำเสนอ ภาพนั้นจะต้องมีขนาดไม่ใหญ่จนเกินไป เพราะจะทำให้การโหลดภาพช้า จนอาจทำให้ผู้บริโภคคลิกไปยังเว็บไซต์อื่นได้ นอกจากนี้ยังมีข้อความที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย ใช้ตัวอักษรที่เป็นสากล กล่าวคือสามารถอ่านได้จากบราวเซอร์ทุกตัว ไม่ว่าจะเป็น netscape หรือ internet explorer เป็นต้น และปุ่มทั้งที่เคลื่อนไหว และไม่เคลื่อนไหว หรือแม้แต่กราฟิกนำทางเพื่อความสวยงามและเป็นเส้นนำสายตาให้น่าสนใจ ก็มีส่วนสำคัญที่จะทำให้เว็บไซต์น่าสนใจได้ 

           นอกจากนี้อาจต้องมีสีสันต่าง ๆ รวมไปถึงการใส่ข้อมูลหรือ เนื้อหาที่เป็นเชิงมัลติมีเดีย เช่น วิดีโอ เสียง ภาพเคลื่อนไหว หรือ Animation ต่าง ๆ เข้าไปในเว็บเพจด้วย แต่ต้องไม่มากจนเกินไป เพราะจะทำให้ช้าและไม่น่าติดตามได้ (ศุภชัย สุขะนินทร์, 2542 : 16)

           การที่จะทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จนั้น สิ่งหนึ่งจะต้องอาศัยพันธมิตร ก็คือเว็บไซต์ที่ให้บริการฝากลิงค์ หรือแลกลิงค์ หรือการไปแนะนำเว็บไซต์ของเรากับเว็บต่าง ๆ เช่น www.sanook.com หรือ www.hunsa.com นอกจากนี้ยังมีอีกหลายเว็บที่สามารถที่จะฝากลิงค์ได้ เช่นwww.thaitop.com www.catcha.co.th www.siamguru.com www.108-1009.com เป็นต้น ซึ่งจะต้องมองหาตำแหน่งที่เขียนว่า Add URL แล้วคลิกเข้าไปจะมีแบบฟอร์มให้กรอก เราก็จะต้องกรอก URL ตลอดจนรายละเอียดต่าง ๆ ที่จะแนะนำเว็บไซต์ และกด submit ก็จะสามารถเพิ่มเว็บไซต์ของเราเข้าสู่ฐานข้อมูลของเว็บต่าง ๆ เหล่านี้ได้ ซึ่งปัจจุบันมีหลายเว็บไซต์ที่ให้บริการแนะนำเว็บไซต์ 

           ส่วนอีกประเภทหนึ่ง ถือเป็นพันธมิตรทางการค้า กล่าวคืออาจจะเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเหมือนกัน หรือธุรกิจเอื้อกัน ก็สามารถที่จะนำกราฟิกชื่อหรือสัญลักษณ์ของเว็บไซต์ต่าง ๆ มาไว้ในหน้าแรกของเว็บเรา เพื่อที่จะให้ผู้บริโภคคลิกเข้าอ่านได้ ซึ่งจะได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่ายและเป็นการประหยัดงบประมาณในการทำตลาดเว็บไซต์ได้อีกด้วย